Categories
ขนมไทย

อาลัว ขนมไทยไซส์น่ารัก

ในช่วงหลัง ๆ มานี้ขนมไทยเริ่มกลับมาเป็นกระแสมากขึ้น ไม่ใช่เพียงคนสูงอายุหรือวัยกลางคนเท่านั้นที่หันกลับมาสนใจขนมไทย แต่เป็นวัยรุ่นเสียส่วนใหญ่ แต่ขนมไทยก็ต้องยอมรับว่าทำยากมาก ให้ซื้อกินยังง่ายกว่า แต่ก็จะพบกับปัญหาอีกสิ่งหนึ่งคือร้านขนมไทยค่อนข้างน้อยแล้ว วันนี้เลยจะพาทุกคนไปทดลองทำขนมหวานไทยง่าย ๆ อย่าง อาลัว ขนมไทยไซส์เล็กสีสันสดใส ไม่ว่าใครก็ชอบกิน ถ้าอยากรู้ว่าเป็นอย่างไรก็ตามมากันได้เลย

ทำอาลัวอยู่บ้านแบบชิล ๆ

ส่วนผสมของอาลัวจะมี

1.แป้งสาลี

2.แป้งถั่วเขียว

(คำถามที่สำคัญมาก ๆ คืออาลัว ใช้แป้งอะไร จากหลาย ๆ สูตรขอบอกเลยว่าการใช้สองแป้งนี้รวมกันจะอร่อยมาก ๆ)

3.น้ำตาลทราย

4.เกลือ

5.กะทิ

6.กลิ่นมะลิ (เพื่อความหอม สามารถเปลี่ยนเป็นกลิ่นอื่นก็ได้ หรือจะไม่ใส่เลยก็ได้เช่นเดียวกัน)

7.สีผสมอาหาร (สามารถเลือกสีที่ต้องการได้เลย)

อาลัว วิธีทำจะมีขั้นตอนอยู่ 2 ขั้นตอนหลัก ๆ คือในส่วนของการทำแป้งและการอบ

1.การทำแป้งอาลัวนั้นจะเริ่มจาก นำแป้งสาลี แป้งถั่วเขียว น้ำตาลทราย เกลือ เทใส่กระทะและคนทุกอย่างให้ละลายรวมกันเป็นเนื้อเดียว

2.ใส่สีผสมอาหารและคนให้ละลายทั่ว (แนะนำว่าค่อย ๆ ใส่เพื่อระวังไม่ให้สีเข้มเกินความต้องการ)

3.จากนั้นเปิดเตาไปที่ไฟอ่อนสุด ค่อย ๆ กวนแป้งจนสุกและพักให้แป้งอุ่นลง (กวนจนแป้งดูมีสีใส)

ขั้นตอนต่อไปเป็นการอบขนมอาลัว มีหลายคนกังวลใจมากว่าอาลัว ใช้เตาอบแบบไหนความจริงแล้วสามารถใช้วิธีทำอาลัว เตาอบหรือจะทำอาลัว ไมโครเวฟก็ได้เช่นกัน เพียงแค่จะต้องคอยหมั่นเปิดดูขนมอย่างต่อเนื่อง ส่วนวิธีอบนั้นจะเป็น

1.หลังจากนำแป้งมาพักให้ยังอุ่นอยู่ จากนั้นนำใส่ถุงบีบและนำหัวบีบรูปดาวมาใช้ (หากใครอยากได้อาลัวดอกไม้หรือรูปแบบอื่นก็สามารถนำมาใช้ได้)

2.บีบแป้งบนกระดาษไขที่รองถาดอบไว้ให้ห่างมีช่องไฟพอดี ไม่ติดกันเกินไป

3.นำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 60-100 องศาเซียลเซียสเป็นเวลา 30-1 ชั่วโมง ทำแบบนี้ทั้งหมด 4 รอบ หรือหากใครที่ไม่มีเตาอบอะไรเลย ก็สามารถใช้สูตรโบราณซึ่งเป็นวิธีทำอาลัว ไม่อบโดยการนำไปตากแดด 2-4 วัน นั่นเอง

อาลัว ขนมไทยทำง่ายเก็บได้นาน

ก็จบลงไปแล้วสำหรับอาลัว ขนมหวานไทยโบราณที่อร่อย กินได้เพลิน ๆ ไม่มีเบื่อ สำหรับสูตรอาลัวที่นำมาฝากทุกคนในวันนี้สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง หากใครที่กำลังสงสัยว่าอาลัวสด เก็บได้กี่วัน สามารถเก็บไว้ไประมาณ 7 วันเลยทีเดียว เรียกได้ว่าทำแป้งครั้งเดียวแล้วค่อย ๆ แบ่งทำเป้นขนมได้ตลอด

Categories
ขนมไทย

ขนมพระพาย ขนมไทยโบราณสีน่ารัก

เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องมีขนมไทยในใจที่ชอบกันอยู่หลายเมนู ทั้งที่สามารถหาซื้อได้ง่ายในตอนนี้และหาซื้อไม่ได้อีกแล้ว แต่แน่นอนว่าด้วยความเป็นขนมหวานไทย ย่อมมีบางเมนูที่ไม่เป็นที่รู้จักในหมู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนมไทยโบราณที่ทุกวันนี้แทบไม่มีใครรู้จักเลย วันนี้จึงอยากจะมาแนะนำสูตรขนมไทยอย่าง ขนมพระพาย ขนมไทยโบราณที่มีสีสันสดใส เหมาะกับวัยรุ่น อร่อยทานง่ายและยังทำง่ายมาก ๆ อีกด้วย

ขนมพระพาย ทานง่าย ทำก็ง่าย

ในการทำขนมพระพายตามแบบฉบับของสูตรขนมไทยชาววังจะแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลักนั่นก็คือแป้งห่อ ไส้ และกะทิราด ซึ่งจะมีวัตถุดิบหลัก ๆ ดังนี้

วัตถุดิบทำแป้งขนมพระพาย

1.แป้งข้าวเหนียว

2.แป้งข้าวเจ้า

3.กะทิ

4.น้ำอัญชัน

5.น้ำใบเตย

6.น้ำกระเจี๊ยบ

วัตถุดิบทำไส้

1.ถั่วเขียว

2.น้ำเปล่า

3.กะทิ

4.น้ำตาลทราย

วัตถุดิบทำกะทิราด

1.กะทิ

2.แป้งข้าวเจ้า

3.เกลือ

วิธีทำขนมพระพายจะเริ่มจากการทำแป้งและกะทิพร้อม ๆ กันไป

1.นำแป้งข้าวเหนียวและแป้งข้าวเจ้ามารวมกัน

2.นำกะทิแบ่งออกเป็น 3 ส่วนและเอาไปผสมกับน้ำอัญชัน น้ำใบเตย และน้ำกระเจี๊ยบ

3.จากนั้นแบ่งแป้งออกเป็น 3 ส่วนเช่นกัน และนำไปผสมกับกะทิที่มีสีทั้ง 3 ส่วน

4.นวดแป้งประมาณ 15 นาทีและพักไว้ ก็จะได้แป้งขนมพระพายหลากสี

5.นำกะทิส่วนที่เหลือเพื่อไว้ใช้ราด ไปผสมกับแป้งข้าวเจ้าและเกลือ

6.ตั้งไฟอ่อน ๆ คนกะทิจนเริ่มเหนียวขึ้นเล็กน้อย ค่อยนำไปพัก

วิธีทำไส้ตามแบบฉบับของขนมโบราณชาววัง

1.นำถั่วเขียวไปแช่น้ำร้อน 3 ชั่วโมงและแช่น้ำเปล่า 1 คืน

2.เอาถั่วไปล้างให้สะอาดและนำไปนึ่ง

3.เมื่อถั่วเขียวสุก นำไปปั่นหรือตำให้ละเอียดเป็นเนื้อเนียน

4.ตั้งไฟกระทะปานกลาง นำถั่วที่บดไว้ไปผัดกับน้ำตาล ก่อนจะนำมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ พอดีคำ

จากนั้นให้นำแป้งที่พักไว้ มาปั้นเป็นก้อนกลมและแบะแป้งให้แบน นำมาห่อหุ้มตัวถั่วเขียว จากนั้นวางบนแผ่นใบตอง และนำไปนึ่งประมาณ 10 นาที เท่านี้ก็จะได้ขนมพระพาย ขนมไทยหาทานยากที่เราสามารถทำทานเองที่บ้านแบบง่าย ๆ ไม่ต้องไปตามหาร้านให้ยุ่งยากแล้ว

ขนมพระพายขนมไทยที่อร่อยจนยากจะลืม

ก็จบลงไปแล้วสำหรับสำหรับการมาแจกสูตรขนมพระพายหวังว่าจะทำให้ทุกคนได้รู้จักกับขนมพระพายกันมากยิ่งขึ้น และก็สามารถนำสูตรนี้ไปทำขายได้ด้วยเช่นกัน โดยหากแนะนำแล้ว สามารถขายขนมพระพาย ราคาเซ็ตละประมาณ 40-50 บาทได้เลย ไม่ว่าใครก็จะมีกำลังซื้อและได้รู้จักกับขนมไทยโบราณนี้เพิ่มขึ้น

Categories
ขนมไทย

เมนูสร้างอาชีพ ขนมครกโบราณ กรอบนอกนุ่มใน เอาใจสายหวาน

ว่ากันว่า ขนมครกโบราณ เป็นเมนูของหวานชาววัง ทำจากแป้ง น้ำตาล และกะทิ มีถาดหลุมสำหรับทำขนมโดยเฉพาะ สมัยก่อนขนมครกใช้ข้าวเจ้าโม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวขูด ส่วนหน้าของขนมคือหัวกะทิเข้มข้น มาดูสูตรขนมครกง่ายๆ ทำกินได้ในครอบครัวหรือจะทำขายก็สามารถสร้างอาชีพได้เลย

ขนมครกมีหลากหลายรูปแบบ เพราะสามารถดัดแปลงได้มากมาย เรามาดูสูตรขนมครกโบราณกันก่อนเลยค่ะ วิธีทำขนมครกโบราณแป้งกรอบ สูตรนี้จะใส่ข้าวสุกไปในตัวแป้ง เพื่อให้ได้แป้งกรอบนอกนุ่มใน

มาดูส่วนผสมและวิธีทำ ขนมครกโบราณ กันเลย

ส่วนผสมแป้งขนมครก

แป้งข้าวเจ้า 1 1/4 ถ้วยตวง

ข้าวสุก 1/3 ถ้วยตวง

น้ำตาลทราย 1/8 ถ้วยตวง

เกลือสมุทร 1 ช้อนชา

น้ำปูนใส 1/4 ถ้วยตวง

หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง

หางกะทิ 1/2 ถ้วยตวง

ส่วนผสมหน้ากะทิ

หัวกะทิ 3/4 ถ้วยตวง

น้ำตาลทราย 1/8 ถ้วยตวง

เกลือสมุทร 1/4 ช้อนชา

แป้งข้าวเจ้า 1/2 ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมหน้าขนมครก

ต้นหอม, ข้าวโพด, เผือก

ผสมแป้งขนมครกโดยการปั่นทุกอย่างรวมกันในเครื่องปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน เทใส่ชามพักทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที

ระหว่างพักตัวแป้งมาทำหน้ากะทิรอได้เลยค่ะ ผสมหัวกะทิ น้ำตาลทราย และเกลือเข้าด้วยกัน คนจนน้ำตาลทรายละลาย ค่อยๆใส่แป้งข้าวเจ้าลงไป คนให้ละลายเข้ากันดีแล้วพักไว้

นำเบ้าขนมครกขึ้นตั้งไฟ ใช้ไฟกลางทาน้ำมันให้ทั่ว ตักตัวแป้งหยอดลงไปประมาณ 3/4 ของหลุม จากนั้นตักส่วนของหน้ากะทิหยอดลงไปให้เต็มเบ้า ปิดฝารอให้แป้งสุก เมื่อแป้งเริ่มสุกแล้วให้โรยหน้าลงไปตามชอบ พอขนมสุกใช้ช้อนแคะขนมออกจากเบ้าวางประกบกัน 2 อันเป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ

มาดูสูตรแบบไม่ใส่ข้าวสุกกันบ้าง สูตรนี้จะได้ขนมรสชาติหวานมัน หน้ากะทิเยิ้มๆ

ส่วนผสมแป้งขนมครก

แป้งข้าวเจ้า 200 กรัม

แป้งข้าวเหนียว 25 กรัม

หัวกะทิ 1 1/2 ถ้วยตวง

น้ำร้อนจัด 1 1/2 ถ้วยตวง

น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ

เกลือ 1 ช้อนชา

น้ำมันพืชสำหรับทาเบ้าขนมครก

ส่วนผสมหน้ากะทิ

หัวกะทิ 1 1/2 ถ้วยตวง

น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง

เกลือ 1 ช้อนชา

แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมซอยข้าวโพดสำหรับโรยหน้า

ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว น้ำตาล และเกลือเข้าด้วยกัน ค่อยๆเทหัวกะทิลงไปพร้อมกับคนส่วนผสมไปด้วย จากนั้นค่อยๆเทน้ำร้อนตามลงไป คนจนส่วนผสมขนมครกเข้ากันดีพักไว้

ผสมน้ำตาลทราย เกลือ และแป้งข้าวเจ้าลงในชามอีกใบ ค่อยๆเทหัวกะทิลงไปคนจนเข้ากันดีพักไว้

เริ่มหยอดขนมครกด้วยการทาน้ำมันพืชให้ทั่วเตา ใช้ไฟกลาง ค่อยๆหยอดแป้งลงไป 3/4 ของหลุม จากนั้นหยอดหน้ากะทิตามลงไป ปิดฝาเพื่อให้ขนมสุก พอขนมใกล้สุกให้โรยต้นหอมและข้าวโพดลงไป ขนมที่สุกแล้วสังเกตง่ายๆเลยคือขอบจะเป็นสีน้ำตาล

ชอบสูตรไหนลองปรับใช้กันได้เลยขนมครกโบราณ

สูตรทำขนมครกขายนั้นมีมากมายแทบจะไม่ซ้ำกันเลย สมัยนี้ขนมครกได้ดัดแปลงให้มีไส้ต่างๆเพื่อดึงดูดลูกค้า ทั้งขนมครกไส้ทะลัก ขนมครกไส้แตก ขนมครกยกถาด ที่มีขนาดใหญ่พอๆกับพิซซ่าเลย เสิร์ฟมาหมดทั้งเตา โดยวิธีทำขนมครกยกถาดก็จะเหมือนกับขนมครกทั่วไป เพียงแต่ราดตัวแป้งให้ทั่วทั้งถาดเพื่อให้แป้งเกาะกัน เวลาแคะออกก็แคะยกถาด ส่วนเรื่องไส้ไม่ต้องพูดถึงเพราะเขาจัดเต็มมากๆ แทบจะมองไม่เห็นตัวแป้งกันเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นขนมไทยประยุกต์ที่น่ากินมากๆเลย

Categories
ขนมไทย

เปิดประวัติ ขนม ดาราทอง ขนมไทยรูปสวยนามเพราะพริ้ง ขนมมงคล

ขนม ดาราทอง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ทองเอกกระจัง เป็นขนมที่มีส่วนผสมของ แป้งสาลี กะทิ น้ำตาล และไข่แดง ลักษณะเป็นทรงกลมแป้น มีรอยบากรอบ ๆ คล้ายผลฟักทองหรือมะยม ถูกวางอยู่ในจานแป้งเล็ก ๆ แล้วประดับด้วยเมล็ดแตงโมที่เอาไปกวาดน้ำตาลให้เป็นหนามแหลม ๆ คล้ายกระจัง และประดับยอดด้วยทองคำเปลวที่รับประทานได้

ส่วนผสมและวัตถุดิบ ขนม ดาราทอง ขนมมงคลของไทย รสชาติอร่อย ทำเองได้ที่บ้าน

ขนม ดาราทองถือเป็นขนมที่ไม่ได้วางขายกันให้เห็นทั่วไป อีกทั้ง ดาราทอง ราคา ค่อนข้างสูงหากซื้อตามร้าน ดังนั้นเราจะมาฝึกทำเอง ซึ่ง ดาราทอง รสชาติ จะออกหวานนำ หากใครไม่ชอบหวานมาก อาจปรับอัตราส่วนน้ำตาลลงได้

วัตถุดิบและส่วนผสม

ส่วนกลีบดอก

1. น้ำเชื่อม (น้ำเปล่า 50 มิลลิลิตร + น้ำตาล 1 ถ้วยตวง)

2. เมล็ดแตงโมดิบ   

ตัวฐานขนม

1. น้ำเปล่า 40 มิลลิลิตร 

2. ไข่แดง 1 ฟอง

3. แป้งอเนกประสงค์ 150 กรัม

ตัวขนมทองเอก

1. กะทิ 180 มิลลิลิตร

2. แป้งอเนกประสงค์ 250 กรัม

3. ไข่แดง 7 ฟอง

4. น้ำตาลทราย 150 กรัม

5. ทองคำเปลว 2 แผ่น

6. กลิ่นมะลิ

7. สีเหลือง

ขั้นตอนการทำ

1. ใช้มือจุ่มน้ำเชื่อม แล้วกวาดเมล็ดแตงโม สักระยะเมล็ดแตงโมจะมีลักษณะเป็นหนามน้ำตาล

2. ผสมไข่และน้ำเปล่า เทลงไปในแป้ง ค่อย ๆ นวดให้เข้ากัน

3. รีดแป้งเป็นแผ่น ๆ

4. ใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มให้ทั่วแป้ง

5. ใช้พิมพ์วงกลมมากดขนม

6. พออบเสร็จเอาออกมาพักไว้

7. เทกะทิ น้ำตาล มาต้มพอเดือด พักไว้

8. เติมกลิ่นมะลิลงไป

9. กะทิเย็นสนิทแล้วใส่ไข่ไก่ สีเหลือง ลงไป

10. ใส่แป้งอเนกประสงค์ทีละนิด คนให้เข้ากัน

11. เอาส่วนผสมไปตั้งไฟอ่อน กวนไปเรื่อย ๆ จนแป้งร่อนไม่ติดกระทะ

12. เอาแป้งมานวดเพื่อให้เนื้อขนมเนียน

13. เอาเมล็ดแตงโมแตะน้ำเชื่อม มาติดที่แป้งที่เราอบ

14. นำทองเอกปั้นเป็นกลม ๆ แล้วบาก วางไว้บนฐานขนม แล้วทำจุกเล็ก ๆ บนหัวไว้ติดทอง

15. พร้อมเสิร์ฟ

ความสับสนที่มีต่อดาราทองและคุณค่าทางอาหารของขนมชนิดนี้

ขนมดาราทองในตอนแรกหลายคนสับสน ดาราทอง กับ มงกุฎเพชร หรือแม้กระทั่ง จ่ามงกุฎ ความจริงแล้วคือ ดาราทองและมงกุฎเพชรนั้นเป็นขนมอย่างเดียวกัน แต่ไม่ใช่อย่างเดียวกับขนมจ่ามงกุฎ ขนมจ่ามงกุฎนั้นมีลักษณะเป็นแป้งใสหรือสีอ่อนนุ่มเหนียวคล้ายกะลาแม โรยด้วยแป้งทอดตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือที่ใช้ปัจจุบันนิยมใช้ถั่วคุดคั่วนั่นเอง นิยมนำไปมอบเป็นของขวัญในการเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง ส่วนขนมไทยที่เราได้หัดลองทำกันวันนี้นั้นนอกจากมีรสชาติหวานหอมมัน รูปสวยวิจิตรแล้ว ยังมีคุณค่าทางอาหารมากมายนัก อาทิ เมล็ดแตงโมที่ช่วยเรื่องกระดูกและฟัน, มีโปรตีนสูงมาก , มีไขมันโอเมก้า 6 และกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายอีกหลากหลายชนิดที่ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้

Categories
ขนมไทย

ทำง่ายมาก ข้าวเหนียว แก้ว ของหวานถูกใจคุณหนู ๆ ผู้ใหญ่กินได้เด็กกินดี

ข้าวเหนียว แก้ว เป็นอีกหนึ่งเมนูขนมไทยที่ทำให้หลายคนคิดถึงอดีตตอนที่เป็นเด็ก ๆ เพราะขนมชนิดนี้ได้รับความนิยมมากในงานสงกรานต์ เนื่องจากเป็นเทศกาลที่มีหนุ่มสาวจำนวนมาก ซึ่งการทำข้าวเหนียวแก้วต้องอาศัยแรงคนที่สม่ำเสมอเพราะมันเหนียวมาก อีกทั้งยังเป็นความหมายถึงความสามัคคี แน่นแฟ้น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่เดิมเป็นขนมที่ใช้ในงานแต่งงานของชาวมอญเพื่อเป็นความมงคลถึงความรักที่กลมเกลียวนั่นเอง แต่ปัจจุบันก็กลายเป็นขนมมงคลที่พบเห็นได้อย่างแพร่หลายของไทย

สูตรและขั้นตอนการทำ ข้าวเหนียว แก้ว ขนมไทยโบราณรสชาติหวานมัน

วัตถุดิบและส่วนผสมของข้าวเหนียว แก้ว มีดังนี้

1.ข้าวเหนียวใหม่ 500 กรัม ( แช่น้ำ 1 คืน )

2. กะทิ 500 กรัม

3. น้ำสะอาด 200 กรัม

4. น้ำตาลทราย 400 กรัม ( ส่วนที่ 1 ใส่ในน้ำกะทิ )

5. น้ำตาลทราย 200 กรัม ( ส่วนที่ 2 ใส่ตอนกวน )

6. เกลือ 5 กรัม

7. สีผสมอาหาร (สีแดง ) สีเขียว จากน้ำใบเตย  สีน้ำเงิน จากดอกอัญชัน

ขั้นตอนการทำ ข้าวเหนียวแก้วแดง ข้าวเหนียวแก้วใบเตย

1.นำซึ้งสำหรับนึ่งมารองด้วยผ้าขาวบาง

2. เทข้าวเหนียวที่แช่น้ำไว้หนึ่งคืนในซึ้ง เว้นหลุมไว้ตรงกลางเพื่อระบายอากาศ จากนั้นคลุมด้วยผ้าขาวบางแล้วนำไปนึ่ง

3. ใส่หัวกะทิลงชามผสม เติมเกลือ น้ำตาลทราย แล้วคนให้น้ำตาลละลายดี จากนั้นพักไว้

4. นำข้าวเหนียวที่นึ่งเสร็จมาใส่ในชามผสมที่มีกะทิที่ผสมไว้

5. คนให้พอเข้ากัน ปิดฝา พักไว้ 20 นาที

6. นำข้าวเหนียวมาตั้งไฟอ่อน กวนไปเรื่อย ๆ แล้วเติมน้ำตาลทรายเพื่อเพิ่มรสชาติ และยังช่วยให้ข้าวเหนียวเงาสวย (ใส่สีผสมในขั้นตอนนี้)

7. กวนข้าวเหนียวไปจนเริ่มแห้ง ระวังอย่ากวนแรงจะทำให้เม็ดข้าวหัก ไม่สวย และไม่ต้องให้แห้งมากไป เมื่อเย็นข้าวเหนียวจะแห้งลงอีก

8. จัดใส่พิมพ์ได้เลย

อร่อยได้ มีประโยชน์ด้วย ขนมไทยที่มาพร้อมสรรพคุณมากมาย

ข้าวเหนียว แก้วเป็นขนมที่มานาน ข้าวเหนียวแก้วโบราณ นิยมใช้สีสันจากธรรมชาติ เช่น สีเขียวจากใบเตย สีม่วงจากอัญชัน สีชมพูจากกุหลาบ ซึ่งต่างเป็นสมุนไพรให้ผลทางยา ใบเตยมีส่วนช่วยดับกระหายได้ดี ส่วนอัญชันเองก็มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดโอกาสการเป็นมะเร็ง แต่ใครที่กังวลว่าเวลาทำมากเกินไปแล้วจะเก็บรักษาอย่างไร วิธีเก็บข้าวเหนียวแก้ว ทำได้ไม่ยากเลย จุดสำคัญที่ทำให้ข้าวเหนียวเก็บรักษาได้นานคือการเติมน้ำตาลปริมาณมากระหว่างที่กวนเพราะน้ำตาลจะช่วยยืดอายุของข้าวเหนียวให้ยาวนานมากขึ้น อีกทั้งการเก็บในอุณหภูมิที่เย็นและแห้งก็ช่วยป้องกันมดและแมลงได้เช่นกัน แต่ไม่ควรเก็บในที่ชื้นเพราะจะทำให้ข้าวเหนียวแฉะและเสียรสชาติได้

Categories
ขนมไทย

3 สูตร ตะโก้ ขนมไทยรสชาติหอมหวาน ทำง่าย ขายคล่อง

อีกหนึ่งเมนูสร้างอาชีพที่ทำง่ายมากๆนั่นก็คือ ตะโก้ เป็นขนมไทยโบราณที่มีสีสันสวยงามน่ารับประทาน อัดแน่นไปด้วยกะทิ รสชาติหวานมันตัดเค็มนิดๆ แถมด้วยไส้ต่างๆที่รองอยู่ด้านล่างของขนม วิธีทำตะโก้ง่ายมากๆมีเพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น วันนี้เรามีสูตรตะโก้หลายหน้า หลายรสชาติมาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วมาดูวัตถุดิบและเตรียมเข้าครัวกันเลย

หากใครไปเที่ยวหัวหินคงคุ้นหน้าคุ้นตากับตะโก้เสวยร้านเบญจพงศ์ ที่ครั้งหนึ่งเคยนำตะโก้ขึ้นโต๊ะเสวยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่วังไกลกังวล เราเลยหยิบสูตรตะโก้เผือกวังไกลกังวลมาฝากกันค่ะ เป็นสูตรตะโก้ชาววังที่สืบทอดต่อๆกันมา รสชาติหวานมัน หอมกลิ่นกะทิและเผือก

มาดูส่วนผสมและวิธีทำกัน ตะโก้ เลยค่ะ

ส่วนผสมตัวตะโก้

แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง

แป้งมัน 1/4 ถ้วยตวง

เผือกหั่นเต๋าเล็กๆ 1 ถ้วยตวง

น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง

น้ำตาลทราย 150 กรัม

เกลือป่นปลายช้อนชา

ส่วนผสมหน้าตะโก้

หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง

หางกะทิหรือน้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง

เกลือป่น 1 ช้อนชา

น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา

แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง

แป้งมัน 1 ช้อนโต๊ะ

นำเผือกหั่นเต๋าไปนึ่งให้สุก ผสมส่วนของตัวตะโก้ให้เข้ากันแล้วใส่เผือกลงไปขยี้ให้ละเอียดเล็กน้อย นำไปกวนบนไฟอ่อนถึงปานกลางจนข้นขึ้น จากนั้นตักหยอดใส่ในกระทงที่เตรียมไว้

ผสมส่วนของหน้ากะทิให้เข้ากันแล้วนำไปตั้งบนไฟอ่อน กวนจนข้นสุกแล้วตักราดลงบนตัวตะโก้ ตกแต่งหน้าด้วยเผือกชิ้นเล็กๆเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

ตะโก้ไม่ได้มีเพียงแค่ไส้เผือกเท่านั้นนะคะ ยังมีไส้อื่นๆอีกมากมาย ทั้งแห้ว สาคูมะพร้าวอ่อน ทับทิมกรอบ อีกไส้หนึ่งที่เป็นที่นิยมก็คือไส้ข้าวโพด ความหวานหอมที่ได้จากตัวตะโก้บวกกับความหวานจากข้าวโพดสีเหลืองนวลนั้นเข้ากันสุดๆไปเลยค่ะ

วิธีทำตะโก้ข้าวโพดโบราณคล้ายกับการทำตะโก้ไส้อื่นๆ เพียงแต่เปลี่ยนตัวไส้เป็นข้าวโพดแทน และที่บอกว่าเป็นสูตรโบราณเพราะว่าตัวกะทิจะเหนียวข้น กลมกล่อมเป็นพิเศษ เรามาดูวัตถุดิบและวิธีทำกันเลยดีกว่าค่ะ

ส่วนผสมตัวตะโก้

ข้าวโพดต้มสุก 1 ถ้วยตวง

น้ำเปล่า 500 มิลลิลิตร

น้ำตาลทราย 150 กรัม

แป้งมัน 70 กรัม

เกลือ 1/2 ช้อนชา

ส่วนผสมหน้าตะโก้

กะทิ 500 มิลลิลิตร

เกลือ 1/2 ช้อนชา

น้ำตาลทราย 50 กรัม

แป้งมัน 70 กรัม

ใบเตย 1 ใบ

นำส่วนผสมทั้งหมดของตัวตะโก้ใส่หม้อตั้งไฟปานกลาง กวนจนแป้งสุกและหนืดขึ้นเล็กน้อย จากนั้นตักส่วนผสมที่ได้ใส่กระทงใบตองหรือกระทงใบเตยที่เตรียมไว้ พักไว้ในอุณหภูมิห้องจนเซตตัว

ระหว่างรอมาเตรียมส่วนของกะทิกันเลยค่ะ นำหม้อขึ้นตั้งไฟปานกลาง ใส่กะทิ น้ำตาลทราย เกลือ แป้งมัน และใบเตย คนให้เข้ากันจนแป้งสุกและหนืดขึ้น ตักส่วนผสมของกะทิใส่ในกระทงที่มีส่วนของตัวตะโก้อยู่ พักไว้ให้เซตตัว แต่งหน้าขนมด้วยข้าวโพดต้มสุก พร้อมเสิร์ฟได้เลยค่ะ ด้วยความหวานมันจากกะทิและน้ำตาลทราย หลายคนคงกลัวว่ากินขนมตะโก้แล้วจะอ้วนไหม แต่ว่าตะโก้แคลอรี่ค่อนข้างต่ำเพียงถ้วยละ 30 แคลอรี่เท่านั้นเอง

เรามาดูสูตรตะโก้ทำขายตามตลาดกันบ้างค่ะ

สมัยนี้ขนมที่เครื่องล้นๆ ไส้ทะลักกำลังมาแรง ตะโก้ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ได้พัฒนาตัวเองมาเป็นตะโก้สาคู ที่เหมือนได้กินทั้งสาคูเปียกและตะโก้ในชิ้นเดียว ตะโก้หน้าแฟนตาซี ที่จับเอาขนมหวานต่างๆมาโรยหน้า ให้ลูกค้าได้มีตัวเลือกหลายๆอย่าง แต่ไส้ที่ขายดีมากๆและมีแทบจะทุกตลาดเลยคือตะโก้สาคูมะพร้าวอ่อน ไปดูสูตรกันเลยค่ะ

ส่วนผสมตัวตะโก้

สาคูเม็ดเล็ก 150 กรัม

น้ำใบเตย 500 มิลลิลิตร

น้ำตาลทราย 120 กรัม

มะพร้าวอ่อนเชื่อม 100 กรัม

ข้าวโพดต้มสุก 100 กรัม

ส่วนผสมหน้าตะโก้

กะทิ 350 มิลลิลิตร

แป้งข้าวเจ้า 30 กรัม

แป้งถั่วเขียว 1 ช้อนโต๊ะ

เกลือ 1 ช้อนชา

ใบเตย 1 ใบ

ล้างสาคูพักไว้จนสะเด็ดน้ำ ตั้งหม้อต้มน้ำใบเตยจนเดือดแล้วใส่สาคูลงไป หมั่นคนให้สาคูไม่จับกันเป็นก้อน จากนั้นใส่ข้าวโพด มะพร้าวอ่อนเชื่อม และน้ำตาลทราย คนให้เข้ากันจนสาคูสุกเป็นเม็ดใส ตักใส่กระทงแล้วพักไว้ให้เซตตัว

ระหว่างรอมาเตรียมส่วนของกะทิกันเลยค่ะ เริ่มจากตั้งกระทะโดยใช้ไฟอ่อน เทกะทิลงไปตามด้วยแป้ง เกลือ กวนให้เข้ากันเป็นเนื้อเนียน ปิดไฟแล้วยกลงจากเตา นำไปหยอดด้านบนตัวตะโก้รอให้เซตตัวอีกครั้ง แต่งหน้าด้วยข้าวโพดหรือมะพร้าวอ่อนจะทำให้ดูน่ากินยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่าตะโก้เป็นขนมที่ทำง่ายมากๆ ส่วนผสมก็ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องนำไปอบหรือนึ่ง เหมาะสำหรับทำขายเพราะใช้เวลาในการเตรียมไม่นาน แถมยังเป็นขนมไทยโบราณที่คนปัจจุบันยังนิยมทานกันอยู่ หวังว่าสูตรตะโก้นี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างอาชีพของใครหลายๆคนนะคะ

Categories
ขนมไทย

เปิดประวัติ ขนม ผกากรอง ของหวานนามเพราะ รสชาติอร่อยถูกปาก

ขนม ผกากรอง เป็น ขนมไทย ที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย ที่ต้องการพัฒนาสูตรขนมไทยจากขนมที่มีชื่อว่า “ช่อแก้ว” ให้มีความอร่อยถูกปากและรูปสวยมากขึ้น จนได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “ผกากรอง” เนื่องมาจากรูปร่างที่เป็นกลีบบาง สีสันสวยสดงดงามของขนม ซึ่งละม้ายกับดอกผกากรองนั่นเอง ซึ่งขนมชนิดนี้ก็ทำตามได้ไม่ยากเลย อยากจะมาชวนให้ทุกคนทำไปพร้อมกัน

เปิดสูตร ขนม ผกากรอง ความอร่อยลงตัว ที่คู่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อชาวไทย

ขนม ผกากรองที่เราจะทำกันในวันนี้เป็น ผกากรองไส้เผือก ซึ่ง ช่อผกากรองรสชาติ จะออกไปทางหวานมัน ไม่ได้รสชาติจัดจ้านเกินไป เนื่องจากเป็นขนมทานเล่น สามารถทานได้ต่อเนื่องหลายคำ และนี่คือสูตรของการทำ

วัตถุดิบและส่วนผสม

1. แป้งเค้ก 2 ถ้วยตวง

2. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง

3. หัวกะทิ 500 มิลลิลิตร

4. น้ำเปล่า 1/4 ถ้วยตวง

5. กลิ่นมะลิ 1/4 ช้อนชา

6. สีผสมอาหารตามชอบ

7. แหนบจีบช่อม่วงหัวใบไม้

8. ถ้วยวุ้น

9. เผือก

ขั้นตอนการทำ

1. เทแป้งเค้กลงชามผสม ใส่หัวกะทิลงไป ตามด้วยน้ำตาลทราย น้ำกลิ่นมะลิ จากนั้นคนให้เข้ากัน

2. เทส่วนผสมลงกระทะแล้วเปิดไปอ่อนในการกวนแป้งให้สุก ห้ามใส่ไฟแรงจะทำให้แป้งไหม้ก่อนสุก

3. เมื่อแป้งได้ที่แล้ว เอาลงได้เลย

4. เมื่อแป้งอุ่นแล้ว ให้นำมานวดให้เนียน แล้วพักให้เย็นสนิท

5. ใช้สีผสมอาหารตามชอบมาผสมในแป้ง

6. นำแป้งไปเตรียมห่อ โดยการคลึงให้เป็นลูกกลม

ขั้นตอนการทำไส้เผือกกวน

1. ตั้งซึ้งให้น้ำเดือด จากนั้นนำเผือกที่หั่นแล้วไปนึ่ง 20 นาที

2. เมื่อเผือกสุก นำมายีให้ได้เผือกซุย ๆ

3. ตั้งกระทะ ใช้ไฟอ่อน ใส่กะทิลงไป

4. เติมน้ำตาลทราย เกลือป่น คนให้เข้ากัน

5. ใส่เผือกลงไป กวนเรื่อย ๆ จนได้ที่ ไม่ต้องให้แห้งเกินไป เท่านี้ก็ใช้ได้แล้ว

ขั้นตอนการขึ้นรูป

1. นำแป้งมากดให้บาง ใส่ไส้ ปิดให้มิดแล้วคลึงให้กลม

2. ใส่ในถ้วยวุ้น 3. ใช้ไม้หนีบจับจีบเป็นดอกไม้

คุณประโยชน์มหาศาลจากภูมิปัญญาของขนมไทย

ขนม ผกากรองนั้นเป็นขนมที่สวยรูปรวยรสอย่างแท้จริง ดั่ง ช่อผกากรองคือ ดอกไม้ที่สวยงามและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในธรรมชาติ นอกจากนั้นแล้ว เทคนิคที่เรานำเสนอไป ด้วยการใช้ พิมพ์ผกากรอง มาช่วยในการจับจีบจะทำให้ขนมไม่ช้ำ ออกมาสวยงามน่าทานมากขึ้น แต่นอกจากน่าทานแล้ว ขนมไทยชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากมายอย่างคาดไม่ถึง ทั้งคุณค่าจากคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานต่อร่างกาย คุณประโยชน์จากมะพร้าวที่ช่วยลดการอักเสบภายในร่างกาย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงการช่วยสร้างฮอร์โมนโปรเอสโตรเจนที่ช่วยเรื่องผิวกระชับอีกด้วย

Categories
ขนมไทย

วันนี้จะพามาทำ ข้าวต้มมัด ขนมไทยแบบไม่ต้องใช้ใบตองกัน

พูดถึง ข้าวต้มมัด น่าจะเป็นเมนูขนมไทยที่เป็นการรองท้องและอาหารว่างเจ้าประจำของใครหลาย ๆ คน แต่ใครจะรู้ว่าวิธีทำเมนูนี้ไม่ได้ยากอย่างที่คิด แถมถ้าทำเองยังสามารถปรับลดความหวานหรือเพิ่มกล้วยและถั่วแบบเน้น ๆ เข้าไปได้ด้วย บอกเลยว่านี่อาจกลายเป็นข้าวต้มมัดที่อร่อยที่สุดในโลกของคุณกันได้เลยทีเดียว พร้อมแล้วมาเริ่มเรียนรู้สูตรข้าวต้มมัดโบราณไปด้วยกันดีกว่า

วัตถุดิบของเมนูขนมไทยข้าวต้มมัด

ข้าวเหนียว 2 ถ้วยตวง (ต้องแช่ทิ้งเอาไว้ข้ามคืน)

กะทิ 800 มิลลิลิตร

เกลือ 1 ช้อนชา

ถั่วดำ 1 ถ้วยตวง (ต้องแช่ทิ้งเอาไว้ข้ามคืน)

น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง

กล้วยหอม

กระดาษไข

วิธีทำ ข้าวต้มมัด

1. เริ่มจากการเทกะทิลงในหม้อแล้วเปิดไฟอ่อน ๆ ใส่ข้าวเหนียว ตามด้วยเกลือ ถั่วดำ ปิดท้ายด้วยการใส่น้ำตาลทราย

2. จากนั้นเริ่มผัดส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันดีโดยการใช้ไม้พายคนไปเรื่อย ๆ ซึ่งข้าวเหนียวจะค่อย ๆ ดูดซึมน้ำกะทิเข้าไป และจะสังเกตได้เลยว่ากะทิเริ่มแห้ง

3. นำกระดาษไขมันใช้แทนใบตองเพื่อความสะดวก และสามารถห่อกันได้ตามถนัดได้เลยและ โดยในขั้นตอนนี้ต้องใส่กล้วยหอมลงไปเป็นไส้ด้วย

4. เมื่อห่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วให้นำไปนึ่งประมาณ 20-30 นาที ทุกอย่างจะสุกดี การทำข้าวต้มมัดแบบนี้จะมีกลิ่นหอมของกะทิเข้ามาแทนที่ใบตอง

วิธีนี้เหมาะกับการทำแบบเน้นความสะดวก เพราะมีสิ่งเดียวที่อาจขาดหายไปบ้างคือกลิ่นของใบตองนั่นเอง แต่คุณสามารถเพิ่มเติมไส้กล้วยในข้าวต้มมัดเข้าไปได้ใหญ่ตามใจกันเลยจนเรียกได้ว่าเป็นสูตรข้าวต้มมัดโบราณที่ปรับแล้วกลายเป็นข้าวต้มมัดที่อร่อยที่สุดในโลก

Categories
ขนมไทย

มาเปิดเตาทำขนมไทยอย่าง ขนมเบื้องไส้หวานกัน

สำหรับ ขนมเบื้อง นั้นน่าจะเป็นหนึ่งในขนมไทยที่หลาย ๆ คนโปรดปราน ซึ่งหลายครั้งเวลาไปซื้อการยืนดูคนขายทำขนมชนิดนี้ก็ดูจะมีความน่าสนุกอยู่ไม่น้อย  วันนี้เราเลยจะพาคุณมาทำของว่างไทยง่าย ๆ แนะนำสูตรนี้เลย สูตรแป้งเบื้องชาววัง วัตถุดิบและขั้นตอนจะมีอะไรบ้างพร้อมแล้วมาเริ่มเข้าครัวกันเลยดีกว่า

วัตถุดิบ ขนมเบื้อง สูตรแป้งเบื้องชาววัง

แป้งข้าวเจ้า    3    ถ้วย

ถั่วเขียวคั่วป่นละเอียด      1   ถ้วย

น้ำตาลทราย    ½    ถ้วย

ไข่ไก่        2     ฟอง

น้ำปูนใส    2     ถ้วย

วัตถุดิบครีม

ไข่ขาวของไข่เป็ดแบบแช่เย็นจัด     2          ฟอง

น้ำตาลปี๊บ  400      กรัม

วัตถุดิบไส้หวาน

ฝอยทอง            2          ถ้วย

งาขาวคั่ว           ½         ถ้วย

วิธีทำสูตรแป้งเบื้องชาววัง

1. ผสมแป้งข้าวเจ้า ถั่วเขียวคั่ว น้ำตาลทราย ไข่ไก่ ให้เข้ากัน

2. เทน้ำปูนใสลงไปแล้วทีละน้อยนวดสลับกับแป้งจนเข้ากันและทิ้งไว้ 10 นาทีจนน้ำตาลทรายละลายหมดแล้วพักเอาไว้รอ

วิธีทำครีม

ตีไข่ขาวกับน้ำตาลปี๊บด้วยความเร็วสูงสุดของเครื่องตี จนสังเกตได้ว่าขึ้นฟูพร้อมกับตั้งยอด ส่วนใหญ่แล้วจะตีประมาณ 10-15 นาที

วิธีทำ ขนมเบื้อง

1. หากทำที่บ้านให้ใช้เป็นกระทะเทฟลอน เปิดไฟอ่อน ตักแป้งขนมลงบนกระทะแล้วทำให้บาง ๆ รอจนสุก

2. ทาครีมลงไปบนแป้งที่สุก ครีมเริ่มร้อนจะมีฟองอากาศให้เห็น

3. นำไส้วางลงบนครีมตามใจชอบ

4. เมื่อแป้งเริ่มกรอบให้แซะพับครึ่งแล้วแซะอีกรอบให้หลุดจากกระทะ พร้อมเสิร์ฟได้ทันที

สำหรับขนมไทยอย่างขนมเบื้องสูตรนี้นั้นเป็นสูตรแป้งเบื้องชาววังที่รับรองว่าทำง่ายรสชาติอร่อยถือเป็นหนึ่งในของว่างไทยง่าย ๆ ที่ถ้าว่างแล้วทำก็สนุกและได้ฝึกทักษะกันไปอีกแบบ

Categories
ขนมไทย

มารู้จักกับขนมไทยอย่าง ขนมใส่ไส้ กัน

เอกลักษณ์ของขนมไทยมีมากมายและ ขนมใส่ไส้ เป็นหนึ่งในนั้น โดยที่ความจริงแล้วขนมชนิดนี้สามารถทำเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน มาดูกันดีกว่าว่าวิธีการทำใส่ไส้สดหรือวิธีทำไส้มะพร้าวจะมีขั้นตอนอย่างไร รับรองว่ารู้แล้วคุณจะอยากเข้าครัวไปทำกันอย่างแน่นอน

วัตถุดิบ ขนมใส่ไส้

น้ำตาลปี๊ป   200      กรัม

เกลือป่น    ½         ช้อนชา (สำหรับไส้)

เกลือป่น   1          ช้อนชา (สำหรับกะทิ)

มะพร้าวทึนทึกขูด

แป้งข้าวเหนียว   350      กรัม

น้ำใบเตยปั่นละเอียด   300      มิลลิลิตร

กะทิ   800      มิลลิลิตร

แป้งข้าวเจ้า   80        กรัม

กลิ่นมะลิ    1          ช้อนชา

ไม้กลัด

ใบตองห่อ

วิธีทำขนมใส่ไส้

1. ตัดใบตองออกมาเป็นสองขนาด 5 นิ้วกับ 4 นิ้ว และนำไปลนไฟเล็กน้อยเพื่อให้ง่ายต่อการห่อ

2. นำมะพร้าวขูด เกลือ น้ำตาลปี๊บ กวนในกระทะด้วยไฟอ่อนประมาณ 20 นาที จนแห้ง แล้วปิดไฟพักเอาไว้

3. เริ่มผสมแป้งข้าวเหนียวกับน้ำใบเตย นวดจนแป้งเป็นก้อน แรปเอาไว้ด้วยพลาสติก

4. นำกะทิ ¼ ของทั้งหมดมาผสมกับแป้งข้าวเจ้า เกลือ กลิ่นมะลิ จากนั้นนำลงกระทะแล้วคนให้เข้ากัน เมื่อแป้งไม่จับตัวเป็นเม็ดแล้วให้เริ่มใส่กะทิส่วนที่เหลือลงไป คนเรื่อย ๆ จนเหนียวแล้วปิดไฟพักไว้

5. เมื่อไส้เริ่มเย็นให้เอามาปั้นเป็นก้อนกลม 1 นิ้ว จากนั้นปั้นแป้งอีกส่วนใหญ่กว่าเพื่อคลุมไส้ให้หมด

6. เริ่มห่อใบตอง ราดด้วยน้ำกะทิ แล้วคาดด้วยมะพร้าว จากนั้นเริ่มกลัด 7. นิ่ง 30 นาที จากนั้นเมื่อสุกพักไว้จนเย็นแล้วพร้อมเสิร์ฟ

บอกเลยว่าขนมไทยอย่างขนมใส่ไส้นั้นทานง่ายอร่อยเพลินเป็นอย่างมากและถ้าใครอยากลองเข้าครัวทำใส่ไส้สดด้วยตัวเอง หรือเรียนรู้วิธีทำไส้มะพร้าวแบบที่สามารถปรับลดเพิ่มได้เองนั้นต้องลองนำสูตรนี้ของเราไปใช้กันดูรับรองว่าอร่อยแน่นอน